เป็นระบบที่ใช้ในการควบคุมการซื้อสินค้าและบริการ รองรับทั้งการซื้อในประเทศและต่างประเทศ โดยเริ่มตั้งแต่ ใบขอซื้อ เพื่อส่งให้ผู้มีอำนาจในการอนุมัติเข้ามาอนุมัติใบขอซื้อ (PR: Purchase Request) รองรับการเปรียบเทียบราคาก่อนสั่งซื้อ ใบสั่งซื้อสินค้า (PO: Purchase Order) การอ้างอิงข้อมูลไปจัดทำรายการซื้อสด, ซื้อเชื่อ ซึ่งโปรแกรมจะบันทึกเข้าคลังสินค้า โดยระบบซื้อเชื่อมโยงระบบการเงินจ่าย บันทึกจ่ายเงินมัดจำ เพื่อนำไปหักลดยอด เมื่อทำการซื้อหรือจ่ายชำระหนี้ รวมถึงกรณีทำใบลดหนี้หรือใบเพิ่มหนี้ โดยอ้างอิงใบแจ้งหนี้ และลงบัญชีสมุดรายวันให้อัตโนมัติ พร้อมส่งข้อมูลไปยังระบบบัญชีแยกประเภท
เป็นระบบบริหารงานขาย รองรับทั้งการขายในประเทศและต่างประเทศ ควบคุมดูแลการบันทึกรายการตั้งแต่การออกใบเสนอราคา (Quotation), รับจองสินค้า, ตัดสต็อกขายสินค้า, การออกใบแจ้งหนี้ โดยระบบขายจะเชื่อมโยงกับระบบการเงินรับ (AR) ในการตั้งหนี้ บันทึกการรับเงินมัดจำ เพื่อนำไปตัดเมื่อมีการบันทึกขายสินค้า บันทึกรับคืน, ใบลดหนี้ หรือใบเพิ่มหนี้ โดยอ้างอิงใบแจ้งหนี้ และลงบัญชีสมุดรายวันให้อัตโนมัติ พร้อมส่งข้อมูลไปยังระบบบัญชีแยกประเภท
เป็นระบบบริหารการจัดเก็บสินค้าในคลัง ตั้งแต่ การรับ , การเบิก, การโอนย้าย , การรับสินค้าผลิตเสร็จ และการส่งคืน, ปรับปรุงสินค้า, การตรวจสอบคุณภาพ, การตรวจนับสินค้า การบรรจุและการจัดส่ง รวมทั้ง รองรับคลังสินค้าสำหรับธุรกิจให้เช่า นอกจากนี้ยังมีรายงานบัญชีควบคุมสินค้า (สต็อกการ์ด) และรองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มือถือพกพา (Handheld) ง่ายต่อการใช้งาน
เป็นระบบวางแผนและควบคุมการผลิต ครอบคลุมกระบวนการผลิต ตั้งแต่การประมาณการต้นทุนการผลิต, สูตรการผลิต BOM (Bill of Materials), วางแผนความต้องการใช้วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต (MRP) และชิ้นส่วนที่นำมาประกอบ วางแผนกำลังการผลิตของเครื่องจักร เครื่องมือ และแรงงานที่ต้องการ รองรับรูปแบบการผลิตตามสั่ง (Make to order) และผลิตเก็บเข้าคลัง (Make to stock) โดยเชื่อมโยงกับระบบคลัง เพื่อรับสินค้าที่ผลิตเสร็จก่อนเข้าคลัง ไปตรวจสอบคุณภาพ (Quality Control) และเชื่อมโยงกับระบบบัญชีไปคำนวณค่าใช้จ่ายและต้นทุนการผลิตและลงบันทึกบัญชีให้อัตโนมัติ
ระบบที่จัดเก็บและรวบรวมฐานข้อมูลจากระบบต่างๆ ในโปรแกรมมาจัดทำรูปแบบรายงานวิเคราะห์ผลการดำเนินงานขององค์กร ซึ่งเป็นเครื่องมือทางธุรกิจ (Business Tool) ทำให้ผู้บริหารได้เห็นภาพรวมขององค์กรได้อย่างรวดเร็ว มีความยืดหยุ่นสูง สามารถวิเคราะห์โอกาสทางธุรกิจ เพื่อวางแผนเชิงกลยุทธ์ เช่น รายงานเคราะห์สินค้าที่ทำกำไรสูงสุด, รายงานวิเคราะห์ขาย-ซื้อ, รายงานวิเคราะห์ลูกหนี้-เจ้าหนี้ และประมาณการรับจ่าย รวมทั้งข้อมูลเปรียบเทียบและเก็บข้อมูลสถิติ สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งช่วยให้การตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
ระบบการเงินรับเป็นระบบบริหารจัดการเกี่ยวกับลูกหนี้ ซึ่งระบบเชื่อมโยงกับระบบขาย รองรับการจัดทำเอกสารการรับ เช่น ใบวางบิล, ใบสำคัญรับ, ใบเสร็จ, ใบกำกับภาษี, ใบลดหนี้, ใบเพิ่มหนี้ รวมทั้งการบันทึกลูกหนี้ยกมา ทั้งการขายสินค้าและขายบริการ และการรับชำระเงินได้ทั้งเงินสด, เงินเชื่อ ผ่านเช็ค, โอนเงินผ่านธนาคารโดยตรง และเงินมัดจำ การขายในสกุลเงินตราต่างประเทศ การจัดการเกี่ยวกับลูกหนี้ เช่น กำหนดรูปแบบเงื่อนไขการวางบิล, กำหนดวงเงินเครดิต (Credit Control) และเงื่อนไขการชำระ (Credit Term) ติดตามสถานะของหนี้สิน (Status) เก็บประวัติการขายสินค้าและสามารถนำข้อมูลที่ได้มาทำการเปรียบเทียบวิเคราะห์อายุลูกหนี้ (Aging) แต่ละราย สามารถนำมาบริหารจัดการลูกหนี้ และติดตามตรวจสอบการเคลื่อนไหวของลูกหนี้ค้างชำระ ทำให้ลูกหนี้สามารถจ่ายชำระเงินได้ตรงตามเวลาที่กำหนด นอกจากนี้ ระบบเชื่อมโยงกับระบบบัญชีแยกประเภทได้ ทำให้คุณสามารถบริหารลูกหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ระบบการเงินจ่ายเป็นระบบบันทึกรายการจ่ายชำระหนี้ รองรับการซื้อสินค้าและบริการ ครอบคลุมการบริหารเจ้าหนี้ เริ่มตั้งแต่ ตั้งเจ้าหนี้ยกมา รองรับการชำระหนี้ด้วยเงินสด, เช็ค, เงินโอน และหักจากเงินมัดจำได้ รวมทั้งการบริหารจัดการข้อมูลเจ้าหนี้ เช่น การจ่ายเงินชำระหนี้, การรับวางบิล, ใบสำคัญจ่าย, การจ่ายเงินมัดจำ, กำหนดวงเงินเครดิต (Credit Control) และเงื่อนไขการชำระ (Credit Term) ติดตามสถานะของหนี้สิน (Status) เก็บประวัติการซื้อสินค้า ซึ่งระบบเชื่อมโยงกับระบบจัดซื้อ และระบบบัญชีแยกประเภทไปลงบัญชีให้อัตโนมัติ นอกจากนี้ มีรายงานวิเคราะห์ต่างๆ เช่น การ์ดเจ้าหนี้, รายงานวิเคราะห์เจ้าหนี้ (Aging Report) ทั้งแบบสรุปและแบบละเอียด ทำให้คุณทราบสถานะและวางแผนการบริหารสภาพคล่องของเงินเพื่อจ่ายชำระหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นระบบที่เชื่อมโยงข้อมูลมาจากระบบซื้อ, ขาย, ระบบการเงินรับ, การเงินจ่าย ไปบันทึกลงบัญชียื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.30) และพิมพ์รายงานภาษีซื้อ-ภาษีขาย โดยสามารถบันทึกการซื้อและขายได้ทั้งแบบราคารวมภาษี (Inclusive) และราคาไม่รวมภาษี (Exclusive) และพิมพ์หนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย จากเครื่องได้ (ภ.ง.ด 3, ภ.ง.ด 53) ทั้งใบปะหน้าและใบแนบ ส่งให้กรมสรรพากรได้อย่างถูกต้อง
เป็นระบบบริหารการจัดการสินทรัพย์ ควบคุมการขึ้นทะเบียน การรับทรัพย์สินเข้าระบบ, การบันทึกค่าเสื่อมสินทรัพย์, ค่าเสื่อมสะสม, รายการปรับปรุง, การขายทรัพย์สิน, การบริจาค และการตัดออกจากบัญชี และส่งข้อมูลที่ประมวลผลไปเชื่อมโยงกับระบบบัญชีแยกประเภท (General Ledger) ลงบัญชีให้อัตโนมัติ
ระบบกำหนดสิทธิ์การเข้าใช้งานในระบบต่างๆ ในโปรแกรม รวมทั้งการเก็บประวัติการทำงานของผู้ใช้งาน (User) ควบคุมการเข้าสู่ระบบ โดยกำหนดสิทธิ์การใช้งานของ User ตามรายบุคคล หรือเป็นรายกลุ่มผู้ใช้งาน หรือตามระดับโครงสร้างหน่วยงาน และกำหนด Login และ Password ตั้งแต่ก่อนเข้าใช้งานระบบ ควบคุมการเข้าถึงหน้าจอ, รายงาน โดยมี System Administrator และ User จะถูกกำหนดการเข้าถึง การทำงานหรือข้อมูล ที่จำเพาะเจาะจงได้ และสามารถเพิ่มผู้ใช้ได้ และรองรับ Time Stamp ที่ระบุชื่อผู้ใช้, สถานะ, เวลา ทำให้ทราบทุกขั้นตอนการทำงาน และติดตามงานได้
รูปแบบการประมวลผลแบบ Cloud computing ได้ถูกนำมาใช้ในโปรแกรม ERP ระดับโลกหลายตัว ยกตัวอย่างการทำบัญชีออนไลน์ผ่าน Cloud computing ซึ่งช่วยให้ระบบงานส่วนหน้าแบบ Mobile สามารถทำงานระบบใหญ่ๆโดยใช้อุปกรณ์ขนาดเล็กได้อย่างคล่องตัว และสามารถฝากการประมวลผลขนาดใหญ่ไว้บน Cloud server ได้อย่างสะดวก พร้อมกับการเชื่อมต่อระหว่างสำนักงานใหญ่และสำนักบัญชีซึ่งอยู่ที่แห่งไหนก็ ได้ด้วยการเชื่อมต่อ ADSL ราคาประหยัด หรือผ่านเครือข่ายสาธารณะอย่าง 3G ได้โดยทันที โดยสามารถเชื่อมต่อระบบที่หลากหลายที่สุด ไม่ว่าจะเป็น Desktop application, Web application และระบบ Legacy ทุกประเภท นอกจากนี้ ยังสามารถเชื่อมระบบกับผู้ให้บริการระดับโลกทุกรายที่เปิดช่องทางการประมวล ผลร่วมกันได้ด้วย เช่นการเชื่อมระบบสั่งซื้อหนังสือกับ Amazon หรือเชื่อมกับระบบ e-mail กับ gMail เป็นต้น
ปัจจุบันต้นทุนการประกอบธุรกิจขององค์กรขนาดเล็กและขนาดกลาง (SME) มีต้นทุนที่สูงขึ้น จากค่าแรงงาน วัตถุดิบ ค่าขนส่ง และอื่นๆ ส่งผลให้การแข่งขันรุนแรงขึ้น และ SME ยังมีปัญหาพื้นฐานจากการทำงานต่างๆ เช่น มีวัตถุดิบไม่พอใช้ในการผลิต ทำการผลิตสินค้าไม่ทันตามกำหนดส่ง จำนวนของสต๊อกสินค้าไม่ถูกต้อง มีการทำงานที่ซ้ำซ้อน ขาดการวางแผนและควบการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ไม่สามารถปิดบัญชีได้เนื่องจากเอกสารไม่ครบ หรือล่าช้า ผู้บริหารได้รับรายงานจำเป็นล่าช้าไม่ถูกต้อง และไม่ครบถ้วน ดังนั้น SME จึงจำเป็นจะต้องนำระบบสารสนเทศเข้ามาช่วยในการแก้ปัญหาการทำงานต่างๆ ข้างต้น โปรแกรม Enterprise Resource Planning (ERP) จึงได้ถูกพัฒนามาเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
องผู้ประกอบการมักประสบปัญหาความล่าช้าหรือไม่ประสบผลสำเร็จ ในเวลาที่กำหนด เนื่องจากสาเหตุหลายประการเช่น สถานประกอบการมีกระบวนการทำงานทางธุรกิจไม่อยู่ในระบบมาตราฐาน บุคลากรไม่ให้ความร่วมมือ หรือผู้บริหารไม่สามารถบริหารการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ เป็นต้น การนำ โปรแกรม ERP หรือ ระบบ ERP มาใช้งาน ยังมีต้นทุนที่สูง และต้องใช้เวลานาน ทำให้ธุรกิจมีความเสี่ยงสูง ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องเลือก โปรแกรม ERP ที่มีต้นทุนต่ำ ลงทุนน้อย และต้องใช้เวลาในการนำมาใช้งานได้เร็ว ระบบ A Cloud ERP จึงเหมาะกับ องค์กรขนาดเล็กและขนาดกลาง (SME) ที่ต้องการแก้ปัญหาการทำงาน และปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ เพราะ ระบบ A Cloud ERP มีต้นทุนที่ต่ำ และใช้ระยะเวลาในการนำมาใช้งานได้เร็วภายใน 2 อาทิตย์
168/37 หมู่บ้านกลางกรุง ซอยลาดพร้าว71 ถนนนาคนิวาส เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร 10230
168/37 Moo Baan Klang Krung Soi Ladprao 71, Nakniwas Road Ladprao, Bangkok 10230
+662-538 5485
support@xclnc.com
Visitors: 2
Monday - Friday : 08:45 – 17:45 (GMT +7)